สวัสดีค่ะ วันนี้น้องไม่ได้พาพี่ๆไปท่องเที่ยวที่ไหนนะคะ แต่จะพาพี่ๆ ทุกท่านไปรู้จักกับอาหารท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองในแต่ละเมืองที่น้อยคนนักจะรู้จัก บางท่านอาจจะเคยชิมบ้างแล้ว บางท่านอาจจะไม่เคยรู้จักเลย ว่าเอ๊ะ!! นี่คืออะไร ..ซึ่งแน่นอนว่าหากพี่ๆได้เดินทางไปแล้ว ถึงกับต้องห้ามพลาดเมนูเด็ดๆ แบบนี้เลย ว่าแต่มีที่ไหนกันบ้างนั้น ไปชมกันเลยค่ะ
1. Hungary / กูลาช (Goulash)
กูลาช เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวฮังกาเรียน และเป็นอาหารยอดนิยมของชาวสาธารณรัฐเชคและสโลวาเกียซึ่งมีพรมแดนติดต่อกันด้วย โดยทั่วไปนิยมปรุงในรูปแบบซุปหรือสตูว์ มักทำจากเนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อแกะ หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม คลุกเคล้ากับเกลือ นำไปทอดกับหอมใหญ่หั่นเป็นแว่น แล้วเคี่ยวไฟอ่อนๆ ในน้ำซุป ใส่มะเขือเทศ และผักที่ชอบ เช่น เซเลอรี มันฝรั่ง แครอท พริกหวาน อาจเพิ่มความหอมโดยใส่เครื่องเทศ เช่น ใบกระวาน และใบไทม์ลงไปด้วย แล้วปรุงรสด้วยพริกป่นปาปริกา (Paprika) ซึ่งไม่มีรสเผ็ด แต่ถ้าเป็นซุป บางตำหรับก็ไม่ใส่ปาปริกา และอาจเติมไวน์ลงไปเมื่อเคี่ยวได้ที่ดีแล้ว
ตำหรับแบบฮังกาเรียนแท้ๆ นั้นปรุงรสโดยใช้ปาปริกาเป็นหลัก ไม่ใช่รสจากมะเขือเทศ และไม่ใช้แป้งใดๆ เพื่อทำให้สตูว์ข้น แต่ทำให้ข้นด้วยมันฝรั่งสับละเอียดที่ต้มไปพร้อมกับเนื้อสัตว์แทน
2. Rome, Italy / พิซซ่า (Pizza)
พิซซ่า เป็นอาหารอิตาเลียนและฟาสต์ฟู้ดประเภทหนึ่ง ซึ่งชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น
มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบน่าจะมีกำเนิดมากว่าร้อยล้านปีที่แล้ว เนื่องจากปี ค.ศ. 97 ภูเขาไฟวิสุเวียสได้เกิดระเบิดขึ้น ทลายเมืองปอมเปอี แห่งอาณาจักรโรมันทั้งเมือง จากนั้น แกตาโน ฟิโอเรลลี่ ได้ค้นพบเตาฟืนโบราณจำนวนมากมายในซากปรักหักพังของเมืองปอมเปอีที่ถูกลาวาถล่ม หนึ่งในจำนวนเตาทั้งหมดนั้นพบว่า มีเถ้าถ่านขนมปังติดอยู่ในเตาถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทหารโรมันในช่วงก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดนั้น พวกเขาน่าจะกินขนมปังที่อบด้วยเตาฟืนกันถ้วนหน้า
ต่อมาในปี ค.ศ.1700 ชาวเมืองนาโปลีก็ได้ประยุกต์ใส่มะเขือเทศ ใบโหระพา ชีสมอสซาเรลล่า ใบออริกาโน เนื้อปลาเอนโชวีและกระเทียมลงในแผ่นแป้ง แล้วนำไปอบเตาฟืนโบราณด้วยความร้อน 340 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นพิซซ่าสูตรเฉพาะของเมืองนาโปลีเลยก็ว่าได้ และก็เป็นจุดเริ่มต้นของมารีนาราพิซซ่า รวมทั้งร้านพิซซ่าร้านแรกในนาโปลีที่มีชื่อว่า พิซเซอเรีย ซึ่งเปิดขายในปี ค.ศ.1830 เป็นต้นมา
3. Madrid, Spain / ทาปาส (Tapas)
Tapas คือ "ของว่าง" หรือพวก "คานาเป้" หรือ อาหารพวก finger food(ใช้มือหยิบทาน คำเดียวหมด)
นิยมทานกับเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่แล้วเป็นไวน์กับเบียร์ หรือที่ประเทศไทยเรียกกันว่ากับแกล้ม ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน โดยแต่ละจานจะมีให้เลือกตั้งแต่พวกผักดองเล็ก ๆ น้อย ๆ ชีส ไปจนถึงพวกไก่อบ เนื้ออบ แต่จะมาในจานขนาดเล็ก เพราะยังคงความเป็น อาหารว่าง หรือ appetizers style
4. Poland / บีกอส (Bigos)
บีกอส หรือ ซุปครีมบล็อคโคลี่พร้อมขนมผิง เป็นอาหารจำพวกสตูของโปแลนด์ลิทัวเนียและเบลารุส ในโปแลนด์จะเสิร์ฟในวันที่ 2 ของวันคริสต์มาสถือเป็นอาหารประจำชาติ ซึ่งจะเป็นการนำกะหล่ำปลีดองมาปรุงกับเนื้อ เบคอน และพลัมดอง หรือผลไม้อื่นๆ อาหารนี้เป็นที่นิยมมาก และเป็นอาหารกลางแจ้งของพรานล่าสัตว์ในสมัยก่อน บีกอส เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกับมันฝรั่งบดหรือขนมปังข้าวไรย์ ซึ่งบีกอสสามารถเก็บในที่เย็นแล้วนำมาอุ่นใหม่ได้ และจะยิ่งทำให้รสชาติเข้มข้นขึ้น บางครั้งเก็บไว้นานเป็นสัปดาห์ เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี และบีกอสยังมีวิตามินซีสูง จึงเป็นอาหารที่นิยมในฤดูหนาวในโปแลนด์และที่อื่นๆ
5. Ireland / สตูว์ไอริช (Stobhach Gaelach)
ดับลิน ไม่ได้มีดีแค่เบียร์ดำสไตล์ไอริช ประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 5 ล้านคนนี้ ยังคงสืบสานวัฒนธรรมแบบ Celt ที่เป็นรากฐานของจิตวิญญาณแบบไอริช ก่อนกลายมาเป็นวัฒนธรรม Gaelic และ Normans ซึ่งรับต่อๆมาจากไวกิ้งโบราณ เช่นเดียวกันกับอาหารพื้นเมืองของชาวไอริช ที่มีชื่อพื้นเมืองว่า “Stobhach Gaelach” หรือ “สตูว์แบบ Gaelic” ส่วนผสมและกรรมวิธีการทำ ต้องการแค่เนื้อลูกแกะสดๆ ตุ๋นในหม้อเหล็กหล่อสัมฤทธิ์ร้อนๆ ตุ๋นจนเนื้อเปื่อย เข้ากันกับรสหวานจากมันฝรั่งและแครอท ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้รสชาติของเมนูดูง่ายๆของชาวไอริชนี้ กลายเป็นอาหารที่ทุกคนต้องมาลิ้มลองรับประทานที่ดับลิน เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นมหานครแห่งหนึ่งของโลก
โอ้โห... แค่เห็นรูปก็หิวแล้วววววว นี่เป็นแค่เพียงน้ำจิ้มนะคะ หากอยากรู้ว่า หน้าตาหน้าทานแบบนี้
ของจริงจะเด็ดดวงแค่ไหน บางโปรแกรมสิริฯ พาไปชิมนะคะ ^^
เห็นเเค่นี้ก็น่าไปลองเเล้วละ